อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก เป็นอย่างไร สังเกตด่วนลูกเป็นโรคนี้หรือไม่

01 November 2021
3431 view

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในเด็กจัดว่าเป็นโรคที่อันตรายมาก เพราะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และยังไม่มีวิธีรักษาที่แน่ชัด เด็กที่เป็นโรคนี้ส่วนมากจะมาจากพันธุกรรมซึ่งมักจะเกิดกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด เป็นโรคที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักจัดว่าเป็นโรคที่หายาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสที่ลูกๆ จะเป็น คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตอาการของลูกถ้าลูกมีอาการนิ่งเกินไป ไม่มีการขยับแขนขา หรือขยับแขนขาน้อยกว่าที่ควรจะเป็นให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าอาจจะมีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวนี้อยู่ก็ได้ และวันนี้เราจะพาคุณแม่มาทำความรู้จักกับ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และวิธีป้องกันโรคดังกล่าวนี้ไปด้วยกันค่ะ

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอย่างไร

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในเด็กเป็นโรคที่พบไม่มากนัก สาเหตุของโรคนี้มักจะเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมในยีนด้อยของพ่อแม่ ซึ่งอาการของโรคนี้จะทำให้เด็กที่ป่วยสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้มีความผิดปกติต่อการส่งคำสั่งไขกระดูกสันหลังไปยังกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ซึ่งสามารถสังเกตอาการของโรคนี้ที่เห็นได้ชัดก็จะมีดังนี้

  • กล้ามเนื้อตามร่างกายค่อยๆ ลีบแบนลง
  • จะไม่สามารถกลืนอาหารได้เอง
  • เกิดอาการแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ
  • ไม่สามารถควบคุมศีรษะและลำคอได้
  • มีปัญหาเกี่ยวกับข้อกระดูกส่วนต่างๆ ในร่างกาย
  • มีพัฒนาการที่ช้าลง
  • ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกายได้

อันตรายของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ในเด็ก เป็นโรคที่มีความอันตรายมาก เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคให้หายขาดได้ โดยเด็กที่เป็นโรคนี้จะมีอาการที่รุนแรงแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละอาการนั้นล้วนแต่อันตรายถึงชีวิตได้ วันนี้เราจึงจะมายกความอันตรายของโรคนี้ในแต่ละระดับให้ได้ทราบกัน แต่ละระดับนั้นก็จะมีความอันตรายที่แตกต่างกันดังนี้

  1. ระดับที่1 เป็น อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่มีอาการรุนแรงมากที่สุด สามารถเสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิดได้เลย เพราะระบบทางเดินหายใจจะล้มเหลว โดยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจอยู่ตลอดเวลา สามารถมีชีวิตอยู่ได้ไม่ถึง 1 ปี
  2. ระดับที่ 2 ระดับนี้อาการจะรุนแรงน้อยกว่าระดับแรก สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กระหว่างอายุ 6 – 12 เดือน จะสามารถเติบโตไปได้ระยะหนึ่ง แต่ทว่าร่างกายอาจจะไม่สามารถใช้งานอะไรได้ ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้จะเป็นผู้ป่วยติดเตียงตลอดไป และอาจเกิดภาวะหายใจล้มเหลวหรือกระดูกสันหลังคดได้ด้วย
  3. ระดับที่ 3 มักจะแสดงอาการหลังจากเลย 1 ขวบไปแล้ว ซึ่งเด็กจะแสดง อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยหอบง่าย และอาจจะต้องพึ่งพาอุปกรณ์เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น
  4. ระดับที่ 4 เด็กจะมีอาการเป็นปกติจนกระทั่งอายุได้ 18 ปี จะเริ่มแสดงอาการโดยจะมี อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และระบบหายใจอ่อนแอลง

วิธีการดูแลรักษา

เพื่อป้องกันไม่ให้โรคนี้เกิดขึ้นกับลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถทำการตรวจร่างกายให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะมีเจ้าตัวน้อย เพราะถ้ารู้ก่อนก็จะสามารถหาวิธีป้องกันได้ แต่ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ทราบและให้กำเนิดเจ้าตัวน้อยออกมาและมี อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อย่างแรกคุณแม่จะต้องตั้งสติก่อนและยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาโรคดังกล่าวนี้ให้หายขาดได้ ถึงแม้ว่าจะได้รับการดูแลดีขนาดไหนก็ไม่สามารถรักษาให้ดีและหายขาดได้ ดังนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วสิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้ก็คือการดูแลรักษาลูกน้อยประคองตามอาการที่เกิด โดยคุณแม่สามารถทำได้ดังนี้

  • พยายามทำความรู้สึกที่โศกเศร้าให้หายเป็นปกติให้เร็วที่สุด และตั้งสติยอมรับความจริงเตรียมพร้อมดูแลลูกน้อยอย่างเต็มที่
  • เตรียมเงินและความพร้อมในด้านต่างๆ ที่จะมาดูแลลูกน้อยให้มากที่สุด เพราะหากตัดสินใจจะเลี้ยงดูก็ต้องดูแลให้ดีที่สุดเท่าที่คุณแม่จะทำได้
  • รักษาอาการไปทีละขั้นตอน ตามที่หมอแนะนำ
  • หมั่นสังเกตอาการของลูก พร้อมกับเรียนรู้วิธีดูแลผู้ป่วยที่มี อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการช่วยใส่อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ การดูแลผู้ป่วยติดเตียง 
  • ให้กำลังใจซึ่งกันและกันทั้งคุณแม่และคุณพ่ออยู่สม่ำเสมอพร้อมสู้ไปด้วยกัน

การป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคนี้

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม รวมถึงการตรวจยีนพาหะโรคนี้ก่อนมีบุตร เพราะสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้มาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ผ่านทางยีน ถ้าพ่อแม่ต่างก็มียีนด้อยด้วยกันทั้งคู่โอกาสที่ลูกจะเกิดมาเป็นโรคนี้มีสูงถึง 1 ใน 4 เลย การตรวจโรคนี้ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ง่ายมาก สามารถตรวจได้ด้วยการเจาะเลือดและใช้เวลาไม่นาน โดยจะทราบผลภายในหนึ่งเดือน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นหรือไม่ได้เป็นพาหะนำโรคนี้ จะได้มั่นใจและสามารถวางแผนมีลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ถึงจะเป็นโรคที่ไม่ค่อยเกิดกับเด็กมากนักแต่คุณแม่ก็ไม่ควรมองข้าม ทั้งยังต้องพยายามทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพราะถ้าอยากจะมีลูกที่เกิดมาสมบูรณ์คุณพ่อคุณแม่ควรเข้ารับการตรวจเช็คให้ละเอียดก่อนการวางแผนมีลูก แต่ถ้าเกิดมีลูกที่เป็นโรคดังกล่าวก็ควรต้องหาวิธีรับมือ อย่างเช่นที่เราได้แนะนำมาในบทความข้างต้นจะได้เตรียมพร้อมรับมืออย่างมีสตินั่นเองค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. กล้ามเนื้อมัดเล็กของลูก สำคัญอย่างไร

2. กล้ามเนื้ออ่อนแรงขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อลูกมากน้อยแค่ไหน

3. พัฒนาการเด็ก ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ที่คุณแม่ต้องติดตาม1000วันแรกของชีวิต

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team