อาการแพ้วัคซีนที่อันตรายถึงชีวิต และภาวะแทรกซ้อนหลังฉีดวัคซีนที่คุณแม่ต้องระวัง

09 March 2017
35892 view

แพ้วัคซีน

จากข่าวเด็ก 5 เดือนเสียชีวิต โดยญาติระบุว่า"แพ้วัคซีนคุณแม่พาน้องไปฉีดวัคซีนที่สถานีอนามัย หลังกลับมาบ้านน้องก็มีอาการซึม  ไม่ร้อง ไม่เล่น ไม่กินนม ซึ่งเป็นอาการแพ้ยานั่นเอง แต่เมื่อนำไปโรงพยบาลหาหมอ ก็สายเสียแล้วเนื่องจากมีอาการไตวาย "






จากข่าวเด็กวัย 5 เดือน หลังฉีดวัคซีนแล้ว มีอาการไตวายและเสียชีวิตนั้น ทำให้คุณแม่หลายคนแอบหวั่นใจ เกรงว่าการไปฉีดวัคซีนแต่ละเข็มจะเกิดการแพ้รุนแรงตามมาดังที่เป็นข่าว วันนี้คุณแม่มาทำความรู้จักกับอาการแพ้วัคซีนทั้งชนิดรุนแรงและแพ้น้อย หรืออาการข้างเคียงทั่วไปจากการฉีดวัคซีนกันค่ะ 

อาการแพ้วัคซีนเป็นอย่างไร 

อาการแพ้วัคซีนหรือ แพ้ส่วนประกอบในวัคซีนสามารถเกิดขึ้นได้ในวัคซีนทุกตัว แต่ไม่ได้เกิดกับทุกคน ส่วนใหญ่พบในเด็กที่แพ้ใข่ อาการแพ้วัคซีนที่ไม่รุนแรงมักแสดงอาการ คือ มีผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อย สำหรับเด็กที่ผื่นลมพิษ ปากบวม หายใจรุนแรง ความดันดลหิตต่ำ เป็นอาการแพ้วัคซีนที่ต้องเฝ้าระวัง!!!  แพทย์จะทำการบันทึกประวัติการแพ้ดังกล่าวไว้ เพื่อประกอบการพิจรณาในการฉีดวัคซีนครั้งต่อๆไปของลูกน้อย

อาการแพ้วัคซีนรุนแรงล่ะ เป็นอย่างไร

อาการแพ้วัคซีนรุนแรง เกิดขึ้นได้น้อยมากๆ  อาการแพ้วัคซีนรุนแรงจะเกิดขึ้นทันทีทันใด หลังฉีดวัคซีนชนิดนั้นๆเพียงคุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าสังเกตอาการ 30 นาทีค่ะ 

6ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน 

คุณแม่อาจสังเกตพบอาการต่าง ๆ ของลูกน้อย หลังจากรับการฉีดวัคซีน เช่น มีผื่น บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน หรือตัวร้อน เป็นไข้ร้องไห้โยเยผิดปกติ อาการเหล่านี้ทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวในระยะเวลาสั้น ๆอาการแสดงดังกล่าว ไม่เป็นอันตรายรุนแรง แต่ก็ต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม ถูกวิธี คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีการรับมืออย่างไรนั้น มาดูกันค่ะ

1. มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง

หลังจากการฉีดวัคซีนผื่นจะค่อย ๆ ขึ้นและหายไปเอง จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาทา เพราะการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรค เช่น วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม และอีสุกอีใส อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ส่วนประกอบในวัคซีนหรือเชื้อที่อยู่ในวัคซีนโดยตรงทำให้เกิดผื่นคล้ายการติดโรคได้

ข้อแนะนำคือ ให้ลูกสวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เพื่อความสบายตัว หากผื่นที่ขึ้นไม่หายเป็นนานอาจไม่ใช่สาเหตุจากการฉีดวัคซีนควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพราะอาการมักหายไปเองภายใน 2-3 วันค่ะ

2. ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด

หากลูกมีอาการบวมหรือแสดงอาการปวด (ร้องโยเยมาก) ให้คุณแม่ประคบด้วยน้ำแข็งบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้อาการดังกล่าวสามารถหายไปภายใน 1-3 วัน แต่หากบริเวณที่บวมแดง เป็นไตหรือเป็นแผล คุณแม่ลองสังเกตว่า ลูกขยับแขนข้างที่ฉีดวัคซีนได้น้อยลงหรือไม่ขยับแขน อาการเช่นนี้อาจเกิดการติดเชื้อจนเป็นตุ่มหนอง ต้องพาลูกน้อยไปพบคุณหมอค่ะ

3. มีไข้

ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดพอหมาด ๆ เช็ดตัวลดไข้ บริเวณซอกคอ ข้อพับต่าง ๆ เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย อาการไข้ก็จะดีขึ้นและหายไปภายใน 2-3 วัน ถ้าไข้ยังสูง ไม่ยอมลด อาจให้ยาลดไข้ตามที่คุณหมอแนะนำ

4. ร้องไห้ โยเย งอแง

เวลาที่เจ้าตัวเล็กงอแง ร้องไห้ อย่าเพิ่งร้อนใจไปค่ะ คุณแม่ต้องใจเย็น ใช้วิธีปลอบโยนลูก เช่น เบี่ยงเบนความสนใจด้วยการพาไปเดินเล่น ร้องเพลง หรือเปิดเพลงให้ลูกฟัง เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี การโอบกอดอุ้มลูกโยกตัวไปมาเบา ๆ เพื่อช่วยสร้างความอบอุ่น สบายใจ ให้ลูกน้อยหายจากอาการโยเยค่ะ

5. ชัก 

ถ้าลูกมีไข้สูงมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการชัก เพื่อป้องกันผลเสียที่จะตามมา นอกจากต้องตั้งสติให้ดีเป็นอันดับแรกแล้ว คุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้

  • จับลูกนอนตะแคงหน้า เพื่อป้องกันการสำลักหรือลิ้นไปอุดทางเดินหายใจ
    ไม่นำของแข็ง เช่น นิ้วมือ ช้อน ฯลฯ ใส่ปากลูก เพราะจะทำให้สำลักมากขึ้น และรีบพาลูกไปพบคุณหมอทันที
  • ระหว่างเดินทางถ้าลูกมีไข้ ตัวร้อน ควรเช็ดตัวเพื่อลดความร้อนให้มากที่สุด

6. มีฝีขึ้นบริเวณที่ฉีด

มีลักษณะเป็น ๆ ยุบ ๆ อยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็จะหายไปไม่จำเป็นต้องใส่ยา หรือทายาปิดแผลค่ะ หากฝีเกิดแตกเอง คุณแม่สามารถใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดทาเช้า-เย็น จนกว่าฝีจะแห้ง และควรระวังไม่บีบ ไม่กด หรือทำอะไรกับฝีที่ขึ้นเด็ดขาด เพราะอาจเกิดการติดเชื้อ หากเกิดติดเชื้อ ฝีอักเสบ ต้องรีบไปพบคุณหมอทันที

นอกจากนี้ พบว่าคุณแม่หลายๆแอบให้ลูกกินยาลดไข้ก่อนฉีดวัคซีน กรณีดังกล่าว พญ.อัมพร สันติงามกุล ไม่แนะนำให้กินยาลดไข้ดักทันทีหลังรับวัคซีนโดยที่เด็กยังไม่มีไข้ เพราะมีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเด็กที่กินยาดัก กับกลุ่มที่ไม่ได้กินยาดัก พบว่ากลุ่มหลังภูมิคุ้มกันขึ้นได้ดีกว่า แต่ถ้าเด็กชักเพราะไข้ขึ้นสูง ให้จับเด็กนอนตะแคงหน้าเพื่อไม่ให้ลิ้นไปอุดทางเดินหายใจ และไม่ควรนำสิ่งใดงัดหรือใส่ในปากขณะเด็กกำลังชักเกร็ง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บในช่องปากหรือฟันหักหลุดเข้าไปอุดหลอดลมซึ่งจะเป็นอันตราย แต่ควรเช็ดตัวลดความร้อนให้มากที่สุดโดยใช้น้ำที่อุณหภูมิห้องเช็ดเน้นตามซอกคอ ข้อพับต่างๆ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาลทันที

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1.วิธีช่วยเหลือเมื่อลูกสำลักสิ่งแปลกปลอม

2.วิธีนวดท้องไล่ลมลูกน้อยให้อารมณ์ดีไม่แหวะบ่อย

3.อันตรายจากการแหวะนมทันทีที่ป้อน แหวะนมบ่อย แหวะหลังกินนมทุกมื้อ

เรียบเรียงโดย :  Mamaexpert Editorial Team