การตั้งครรภ์และ พัฒนาการทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 13 สัปดาห์

26 September 2017
55034 view

อายุครรภ์ 13 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์อายุครรภ์ 13 สัปดาห์

ตอนนี้ลูกจะมีความยาวประมาณ 75 มม. และจะหนักประมาณ 20 ก.มีการสร้างอวัยวะและโครงสร้างสำคัญทั้งหมดแล้วแต่ยังไม่เจริญเต็มที่ ลำไส้ได้เคลื่อนที่เข้าไปในตัวมากขึ้นตับเริ่มหลั่งน้ำดีและตับอ่อนเริ่มผลิตอินซูลิน กำลังมีการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอด้วยแม้ว่าคุณจะไม่สามารถรู้สึกได้ เนื้อเยื่อกระดูกกำลังปรากฏ รีเฟล็กซ์ดีขึ้นเนื่องจากเซลล์ประสาทเพิ่มจำนวนและพัฒนาการทางประสาทยังคงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ถ้าฝ่ามือเผอิญสัมผัสกับสายสะดือ นิ้งมือจะกำรอบสายสะดือ

ลูกได้พัฒนานิ้วหัวแม่มือซึ่งแตกต่างจากนิ้วอื่นขึ้นมาเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งสำหรับคนทุกคนเนื่องจากทำให้เราหยิบ ถือ และจัดการสิ่งต่างๆได้

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ อายุครรภ์ 13 สัปดาห์

ขณะนี้เป็นไตรมาสที่ 2 ระยะที่ดีที่สุดของการตั้งครรภ์กำลังจะเริ่มต้นขึ้น คุณอาจพบว่าตนเองหิวมากขึ้น เริ่มอยากอาหารบางชนิดหรือเลิดอาหารบางชนิด คุณอาจจะเริ่มรู้ึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นเนื่องจากปัญหาในช่วงไตรมาสที่ 1 เช่น อาการคลื่อนไส้ ความล้าทุเลาลง ขณะนี้รกผลิตฮอร์โมนตัวหลัก คือ โพรเจสเทอโรนและเอสไทรออล ซึ่งรังไข่ได้ผลิตก่อนหน้านี้ ฮอร์โมนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการคงสภาวะครรภ์ และชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นของร่างกาย ถ้าคุณยังไม่ได้ประกาศให้ผู้อื่นทราบเรื่องการตั้งครรภ์ก็ประกาศได้ด้วยความมั่นใจในเวลานี้ เนื่องจากความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนลดน้อยลงมากแล้ว

การตรวจสุขภาพครรภ์ในคุณแม่ อายุครรภ์ 13สัปดาห์

การนัดหมาย และ การตรวจสุขภาพครรภ์ของคุณแม่ระหว่างอายุครรภ์14สัปดาห์ อาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสุขภาพแม่และลูกน้อย หากคุณแม่เป็นครรภ์เสี่ยงอาจไดรับการตรวจพิเศษมากกว่าคุณแม่ครรภ์ปกติ  การตรวจต่างๆที่คุณแม่อาจได้รับในการนัดตรวจครรภ์อายุครรภ์13สัปดาห์ มีดังนี้ 

  • อัลตราซาวด์ดูอายุครรภ์ และวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอ(Nuchal translucency)  

    วิธีการทำโดยการตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารกในครรภ์ เพราะทารกกลุ่มอาการดาวน์มักมีน้ำคั่งค้างที่บริเวณต้นคอทารกมากกว่าทารกปกติ เมื่อทำร่วมกับการเจาะเลือดแม่เพื่อหาค่าสารเคมีบางตัวคล้ายกับการตรวจข้างต้น จะสามารถบอกความเสี่ยงของทารกที่จะมีภาวะดาวน์ได้แม่นยำประมาณร้อยละ 91

  • แพทย์อาจเก็บตัวอย่าคอริโอนิควิลไล (Chorionic villous sampling ) อักษรย่อ CVS
    เป็นการดูดเอาตัวอย่างของรกเด็กมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม Chromosome เช่นเดียวกันกับการตรวจน้ำคร่ำ Chorionic villous sampling สามารถบอกความผิดปกติของโครโมโซม เช่น Down's syndrome ความพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง) เป็นการตรวจหาความผิดปกติของ โรคทางพันธุกรรม และปัญหาอื่นๆของการตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนำการตรวจนี้แก่ท่านที่มีบุตรพิการ หรือมีประวัติครอบครัวที่มีโรคทางพันธุกรรม สูติแพทย์จะพิจารณาตรวจ ในคุณแม่กลุ่มเสี่ยงเช่น 
    1. อายุของคนท้องมากกว่า 35 ปี
    2. ประวัติครอบครัวคลอดพิการแต่กำเนิด
    3. คลอดเด็กพิการแต่กำเนิดมาก่อน
    4. ใช้ยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์
    5. เป็นเบาหวานชนิดที่ 1

  • แพทย์อาจตรวจคัดกรองเซรั่ม   

    การตรวจคัดกรองเซรั่มเพื่อคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม โดยการคำนวณหาปริมาณซีรั่มหรือฮอร์โมนในเลือดแม่ร่วมกับการวัดความหนาของของเหลวที่อยู่ด้านหลังต้นคอของทารกในครรภ์จากการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ ผลของการหาปริมาณฮอร์โมนต่างๆ ร่วมกับการวัดความหนาของของเหลวที่ต้นคอทารกในครรภ์ จะบอกความเสี่ยงที่ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่จะเป็นดาวน์ซินโดรมได้ 

อาหารบำรุงครรภ์สำหรับคุณแม่อายุครรภ์13 สัปดาห์

รกเริ่มทำหน้าที่ผลิตโปรเจสเตอโรนและเอสโทล เพื่อช่วยรักษาครรภ์ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในร่างกายของคุณ แต่ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจทำให้คุณมีอาการอักเสบ และมีเลือดออกได้ อาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยรักษาโรคเหงือกบวม และโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมให้กระดูกและฟันของทารกในครรภ์แข็งแรงอีกด้วยวิตามิน ซีมีในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทั้งหลาย มีมากในฝรั่ง สตรอเบอรี่ บรอ๊อคโคลี่ 

น้ำฝรั่ง ฝรั่งสด  เมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 13 สัปดาห์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ผัดบล็อคโคลี่กุ้งสด เมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 13 สัปดาห์


ส้มตำสตอเบอรี่ เมนูแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 13 สัปดาห์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การดูแลครรภ์ เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องต้องใส่ใจ คุณแม่ควรติดตามและสังเกตอาการผิดปกติในแต่ละวัน หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์ โดยด่วน  และควรปฏิบัตตนตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์ ครรภ์คุณภาพไม่มีขายสร้างได้ด้วยคุณแม่เอง 

อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ลูกน้อยและคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไร 

คุณแม่สามารถคลิกเลือกอายุครรภ์ ตามตัวเลขที่ระบุได้เลยค่ะ....

1 สัปดาห์

2 สัปดาห์

3 สัปดาห์

4 สัปดาห์

5 สัปดาห์

6 สัปดาห์

7 สัปดาห์

8 สัปดาห์

9 สัปดาห์

10 สัปดาห์

11 สัปดาห์

12 สัปดาห์

13 สัปดาห์

14 สัปดาห์

15 สัปดาห์

16 สัปดาห์

17 สัปดาห์

18 สัปดาห์

19 สัปดาห์

20 สัปดาห์

21 สัปดาห์

22 สัปดาห์

23 สัปดาห์

24 สัปดาห์

25 สัปดาห์

26 สัปดาห์

27 สัปดาห์

28 สัปดาห์

29 สัปดาห์

30 สัปดาห์

31 สัปดาห์

32 สัปดาห์

33 สัปดาห์

34 สัปดาห์

35 สัปดาห์

36 สัปดาห์

37 สัปดาห์

38 สัปดาห์

39 สัปดาห์

40 สัปดาห์

ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกลุ่มคุณแม่แชร์ไอเดีย

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team 

อ้างอิง :

1. ผศ.ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์(2555) .คู่มือการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่หน้า25 .กรุงเทพ ; สำนักพิพ์เอ็มไอเอส

2. ผศ.ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์ใ(2555) .การบริบาลสตรีตั้งครรภ์ .กรุงเทพ ; สำนักพิพ์เอ็มไอเอส

2.Your pregnancy 13 week  : https://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-13-weeks_1102.bc13 weeks . เข้าถึงได้โดย.  [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560]

3.13 weeks pregnant - what to expect.เข้าถึงได้โดย https://www.tommys.org/pregnancy-week-by-week/13-weeks-pregnant-what-to-expect . [ค้นคว้าเมื่อ 27 กันยายน 2560]