เงินสมทบประกันสังคม ได้คืนเมื่อไหร่ ? และเท่าไหร่ ?

26 January 2017
3691 view

เงินสมทบประกันสังคม

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ทุก ๆ เดือน จะใช้หรือไม่ใช้ก็แล้วแต่  หลายๆ คนมักบ่นว่า จะส่งไปทำไม ประกันสังคมเนี่ย ส่งไปก็ไม่ได้ใช้  ส่งไปไม่ได้ใช้อาจไม่จริงนะคะ ขึ้นอยู่กับว่า คุณรู้ลึก รู้จริงเกี่ยวกับสิทธิ์ที่คุณพึงได้มากแค่ไหน และอีกเรื่องที่คุณไม่ควรพลาดจากสิทธิ์ไประกันสังคมก็คือ การขอคืนเงินชราภาพ



เงินสมทบประกันสังคมส่งไปก็ไม่ได้ใช้ มันจริงหรือไม่

ตอบว่า ได้ใช้แน่นอน เงินที่เราส่งไป ไม่ใช่ส่งทิ้งไปเปล่าๆ เค้าจะคืนให้เรา เมื่อถึงเวลา และแถมดอกเบี้ยให้อีกตะหาก

เงินสมทบประกันสังคมจะได้คืนเมื่อไหร่?

เริ่มต้นจากเงินที่เราต้องส่งประกันสังคมก่อนในแต่ละเดือน นายจ้างจะหักเงินเดือนเรา 5% เช่น หากคุณได้รับเงินเดือน 10,000 บาท ก็จะถูกหัก 500 บาท แต่จะหักสูงสุดไม่เกิน 750 บาท นั่นคือคนที่ได้รับเงินเดือน 15,000 ขึ้นไปนั่นเองก็จ่ายแค่ 750 บาท

เงินสมทบประกันสังคม 5% ถูกหักไปทำอะไรบ้าง

  • 1.5% = 225 บาทจะประกันเจ็บป่วย ตาย 
  • 0.5% = 75 บาท จะประกันการว่างงาน
  • 3% = 450 บาท จะประกันชราภาพ

เงินประกันชราภาพ 450 บาทนี้ ส่งครบ 1 ปี จะได้ 5,400 บาท  คุณจะได้เงินสบทบอีก 100% จากนายจ้างคือปีละ 5,400 บาท + ดอกเบี้ยจากประกันสังคม เช่น ปี 45 = 4.2%, ปี 46 = 6.5%  นั่นคือคุณจะได้ผลประโยชน์ 106.5% คือฝาก 5,400 เงินของท่านจะได้รับประมาณ 11,502 บาท ท่านจะได้รับเงินสมทบคืนก็ต่อเมื่อ อายุครบ 55 ปี หรือเกษียณแล้วเท่านั้น  และต้องทำเรื่องขอภายใน 1 ปี หลังเกษียณ ห้ามเกินแม้แต่วันเดียว  มิเช่นนั้น เงินของท่านจะถูกนำไปสมทบกองกลางทันที ขอคืนไม่ได้ด้วย เมื่อทราบเช่นนี้อย่าปล่อยสิทธิ์ของท่ายให้เลยผ่านไปเฉยๆ มาดูวิธีขอเงินคืนกันค่ะ 

เงินสมทบประกันสังคม กับวิธีขอคืนจากประกันสังคม

  1. ในกรณีที่ท่านส่งไม่ครบ 15 ปี หรือ 180 เดือน ท่านก็จะได้เงินบำเหน็จเป็นก้อนไป (เป็นแสนเลยนา)
  2. ในกรณีที่ท่านส่งเกิน 15 ปี หรือเกิน 180 เดือน ก็จะได้รับในรูปแบบบำนาญไป

คุณสามารถตรวจสอบการส่งเงินสมทบประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th ในส่วนของผู้ประกันตน  สมัครสมาชิกก่อน ท่านจึงจะสามารถตรวจสอบข้อมูลการส่งเงินสมทบได้ค่ะ

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. สิทธิประโยชน์จากสำนักงานประกันสังคม

2. การเบิกค่าคลอดประกันสังคม คนมีลูกต้องรู้ทัน!!!

3. สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม กรณี แท้งบุตร ทารกตายคลอด

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team