การดูแลเด็กที่เป็นเบาหวาน

08 March 2012
3240 view

 การดูแลเด็กที่เป็นเบาหวาน

การดูแลเด็กที่เป็นเบาหวานนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่อยู่ใกล้ชิดลูกจะต้องมีความรู้และใช้การสังเกตอาการต่างๆของเบาหวานในเด็ก เพื่อที่จะได้ช่วยลูกในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับขนาดของอินสุลินที่ใช้ฉีดทุกวันให้แก่ลูก และคอยให้กำลังใจและสนับสนุนให้ลูกได้ปฎิบัติตนเหมือนเด็กปกติคนอื่นๆทั่วไป การดูแลเด็กที่เป็นเบาหวานนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่อยู่ใกล้ชิดลูกจะต้องมีความรู้และใช้การสังเกตอาการต่างๆของเบาหวานในเด็ก เพื่อที่จะได้ช่วยลูกในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับขนาดของอินสุลินที่ใช้ฉีดทุกวันให้แก่ลูก และคอยให้กำลังใจและสนับสนุนให้ลูกได้ปฎิบัติตนเหมือนเด็กปกติคนอื่นๆทั่วไป

การรักษาอาการต่างๆของเบาหวานนั้นพอจะแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ.

1.ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

เป็นกลุ่มอาการที่แสดงออกอย่างเฉียบพลัน และมีอันตรายต่อตัวคนไข้เอง ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างถูกต้อง อันเกิดจากการขาดอินสุลิน ทำให้น้ำตาลกลูโคสที่เกิดขึ้นจากการย่อยอาหารนั้นไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ต่างๆได้ แม้ว่าน้ำตาลในเลือดจะสูงแต่ในเซลล์มีภาวะขาดน้ำตาล ทำให้เซลล์ต่างๆทำงานผิดปกติไป อีกทั้งระดับน้ำตาลที่สูงมากในเลือดก็จะท้นออกมาในตอนที่ไหลเวียนผ่านไต ออกมากับปัสสาวะ ทำให้มีปัสสาวะออกมาก และทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย กระหายน้ำ ในเวลาต่อมาก็จะเกิดภาวะเลือดข้น การไหลเวียนของเลือดในอวัยวะต่างๆไม่ดีนักจนเกิดภาวะเลือดเป็นกรด เริ่มเข้าสู่ระยะช็อค คนไข้จะมีอาการทางสมองด้วย เช่น อาเจียน ซึมลง และเข้าสู่โคม่า จนถึงเสียชีวิต ในที่สุด

2. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 

อันเกิดจากการให้อินสุลินมากเกินขนาด หรือให้อินสุลินใน ขนาดปกติ แต่เนื่องจากมีการเจ็บป่วย หรือทานอาหารไม่ได้ เช่น มีท้องเสีย อาเจียนมาก ทำให้อินสุลินที่ได้เข้าไปในร่างกายมีผลทำให้น้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่างได้ดี จนไม่มีน้ำตาลเหลือพอในกระแสเลือด ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่ต่ำมากก็ทำให้เซลล์ต่างๆทำงานผิดปกติได้เช่นกัน โดยเฉพาะในสมอง ทำให้คนไข้มีอาการซึมลง หมดสติ หรือถึงขั้นชักจากน้ำตาลในเลือดต่ำ และอาจเสียชีวิต หรือมีสมองพิการได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการของ 2 ภาวะนี้ สำหรับคนทั่วไปอาจจะแยกสาเหตุจากกันยาก และต้องใช้การตรวจทางห้องปฎิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ เพื่อดูระดับน้ำตาล เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง ได้ทันการ กล่าวคือ ถ้าเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ก็ จะต้องให้น้ำตาลกลูโคสในปริมาณที่เหมาะสม โดยไม่ต้องเพิ่มอินสุลิน แต่ถ้าเป็นจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่รุนแรง ก็จะต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ชดเชยภาวะขาดน้ำ และภาวะเลือดเป็นกรด และต้องปรับขนาดอินสุลินที่ให้เพิ่มขึ้นในระยะแรกของการเป็นเบาหวานในเด็ก อาจจำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้ทราบว่าจะต้องใช้อินสุลินขนาดมากน้อยเพียงไร และเรียนรู้เรื่อง

1.การตรวจปัสสาวะ หาน้ำตาลและคีโตน (คีโตน คือสารชนิดหนึ่งที่จะออกมาในปัสสาวะในรายที่มีภาวะขาดน้ำมาก)

2. การตรวจเลือด โดยการเจาะปลายนิ้ว เพื่อดูระดับน้ำตาล ในบางครั้งที่จำเป็น

3. ฝึกหัดการฉีดอินสุลิน ในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่ หรือญาติ เป็นคนฉีดให้ ในเด็กที่อายุ มากกว่า 12 ปี ก็จะสามารถฝึกให้ฉีดอินสุลินเองได้

4. เรียนรู้การปรับขนาดของอินสุลิน ผู้ที่ดูแลคนไข้เด็กที่เป็นเบาหวานจะต้องเข้าใจวิธีปรับลดหรือเพิ่มอินสุลินที่ให้ โดยอาศัยผลการตรวจปัสสาวะเป็นหลัก ต้องตรวจวันละ 4 ครั้ง คือก่อนอาหารหลัก 3 ครั้ง และก่อนนอน แต่ถ้าไม่สามารถทำได้อาจตรวจเพียงครั้งเดียวตอนเช้า โดยใช้ปัสสาวะครั้งที่ 2 ไม่ใช้ปัสสาวะที่ถ่ายครั้งแรกหลังตื่นนอน เนื่องจากเป็นปัสสาวะที่ค้างในกระเพาะปัสสาวะตลอดคืนที่สะสมน้ำตาลหลังอาหารค่ำจึงใช้ไม่ได้

การรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานรายการอาหารของผู้ป่วยเบาหวานควรจะอยู่ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม และสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ผล แพทย์และนักโภชนาการจะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารตามความต้องการของร่างกาย ควรจำกัดอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง (ของหวาน , อาหารจำพวกแป้ง) เพื่อป้องกันมิให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงมากซึ่งทำให้ต้องการอินสุลินมากขึ้น แต่ในเด็กที่เป็นเบาหวาน จำเป็นต้องได้อาหารในปริมาณที่ร่างกายต้องการ เพื่อการเจริญเติบโตจนกว่าร่างกายจะเจริญเติบโตเต็มที่