วิธีรับมือกับเด็กร้องดิ้นอาละวาด

08 December 2017
7958 view

เด็กร้องดิ้นอาละวาด

การร้องดิ้นอาละวาด เป็นปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยโดยเฉพาะช่วงวัยเตาะแตะ 1 – 3 ขวบ มักเกิดเมื่อลูกรักต้องการจะเอาชนะ หรืออยากได้อยากทำในสิ่งที่ผู้ใหญ่ห้าม โดยทำได้ตั้งแต่ตีอกชกหัวตัวเอง ทุ่มตัวลงกับพื้น กรีดร้องปานว่าจะขาดใจ จนพ่อแม่รวมทั้งผู้ใหญ่รอบข้างมักจะต้องยอมแพ้ ด้วยการตามใจ เพราะทนฟังเสียงร้องไห้ของแก้วตาดวงใจไม่ไหว เมื่อลูกทำสำเร็จในครั้งแรก หรือทำสำเร็จสักครั้ง ลูกก็จะเรียนรู้ว่ามันได้ผล และพฤติกรรมนี้ก็จะเกิดขึ้นอีกบ่อยๆ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กร้องดิ้นอาละวาท

สาเหตุที่เด็กร้องดิ้นอาละวาด

1. เอาแต่ใจตัวเอง ควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ได้ ไม่ยับยั้งจิตใจ และความต้องการ

2. เป็นการเรียนรู้ว่าทำวิธีการนี้แล้วได้ผล ผู้ใหญ่จะยอมทำตาม

3. ขาดคนเข้าใจ หรือถูกยั่วแหย่ให้โกรธสุดขีด

4. เป็นพฤติกรรมเลียนแบบ

5. การเลี้ยงดูที่ยอมเด็กมากเกินไป และให้ความสำคัญต่อพฤติกรมที่ก้าวร้าว โดยการยินยอมทำตามเด็ก

6. เป็นการเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง

วิธีการแก้ไขเด็กร้องดิ้นอาละวาด

1.ขณะที่เด็กกำลังอาละวาด อย่าให้ความสนใจหรือเข้าไปห้ามปราม อธิบายเหตุผล และไม่ให้ความสำคัญแก่พฤติกรรมที่ไม่ต้องการนี้โดยเด็ดขาด

2. ในกรณีที่เด็กอาละวาดแล้วทำร้ายตัวเอง ทำร้ายบุคคลอื่น หรือทำลายข้าวของ ขอให้เข้าไปหยุดยั้งพฤติกรรมของเด็กโดยการเอาเด็กมากอด จับแขนขาไว้ ไม่ให้ทำร้ายตัวเอง หรือผู้อื่น ด้วยท่าทีที่สงบ ไม่พูดหรืออธิบายมาก ไม่จับเด็กแรง หรือใช้การจับตัว เป็นการลงโทษ แต่ถือว่าการเข้าไปจับเด็ก เพื่อช่วยเหลือเด็กให้คุมตัวเอง ทำลายข้าวของ หรือทำร้ายคนอื่น แม่จะไม่ยอมเด็ดขาด แต่หนูโกรธแล้ว หนูร้องไห้ แม่ไม่ว่า ท่าทีที่มั่นคง น้ำเสียงและสัมผัสที่จับเด็กนุ่มนวล แต่ไม่ใช่เข้าไปตามใจเด็กขณะที่โกรธ จะช่วยทำให้เด็กสงบได้เร็วขึ้น

3. พูดคุยกับผู้ใหญ่ภายในบ้าน ให้มั่นคงและทำกับเด็กในทำนองนี้คล้ายกัน โดยลดพฤติกรรมอาละวาดของผู้ใหญ่ ที่เป็นแบบอย่างให้มากที่สุด อย่ายอมตามใจหลังจากเด็กอาละวาด เพราะจะทำให้เด็กเรียนรู้ว่า ทำแล้วได้ผลอยู่บ่อย ๆ

4. ลดการยั่วยุ หรือแหย่ให้เด็กโกรธ หรือช่วยตัวเองไม่ได้

5. ปรับเปลี่ยนวิธีเลี้ยงเด็ก โดยลดการตามใจ หรือทำให้เด็กจนเด็กเรียกร้องที่จะทำตามใจตัวเองอยู่บ่อย ๆ ฝึกให้เด็กหัดยับยั้งอารมณ์ หัดยับยั้งตัวเอง เรียนรู้ที่จะรอคอยคนอื่น ทีละเล็ก ทีละน้อย ให้กำลังใจและแสดงความรักเมื่อเด็กทำได้ แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม

ฝึก ให้เด็ก เรียนรู้ว่างบางสิ่งบางอย่างถึงแม้ว่าจะร้องหรือดิ้นแค่ไหนก็ตามก็ไม่มีวัน ได้ เพราะแม่ไม่ให้จริง ๆ ดังนั้นท่าทีของแม่ พ่อ จะต้องมั่นคง รู้ดีว่าสิ่งใดเด็กควรหรือไม่ควรจะเล่น ท่าทีสม่ำเสมอและคาดเดาได้เช่น ถ้าแม่บอกว่าได้ก็ได้แน่นอนโดยไม่จำเป็นต้องร้องไห้หรือโวยวายให้เหนื่อยยาก

6. ฝึกฝนให้เด็กหัดพูด หัดช่วยตัวเอง เพิ่มความสามารถในการเล่น และทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวของเด็กเองมากที่สุด โดยที่แม่อยู่ใกล้ ๆ ช่วยเหลือเมื่อจำเป็น คอยให้กำลังใจ และให้ความสนใจแก้เด็กในช่วงที่เด็กพยายามฝึกฝน

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team