พัฒนาการ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ไตรมาสที่ 3

16 November 2016
8975 view

ทารกในครรภ์ไตรมาสที่  3

เข้าสู่ไตรมาสสุดท้าย มดลูกมีการซ้อมหดรัดตัว ทำให้คุณแม่สัมผัสได้ว่าท้องปั้น ท้องเเข็ง เริ่มมีบ้างแล้ว ในระหว่างนี้คุณแม่ควรเตรียมพร้อมเรื่องอุปกรณ์ เครื่องใช้ เสื้อผ้า รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย เผื่อวันคลอดมาถึงจะได้ไม่วุ่นวาย ไตรมาสสุดท้ายนี้ ลูกน้ำหนักมากขึ้นแล้ว ท้องคุณแม่เริ่มขยายใหญ่เต็มที่ เรามาดูกันค่ะว่าลูกรักของคุณน้ำหนักกี่กรัมแล้ว 

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ไตรมาสที่ 3

  • อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ ทารกยาว 38.6 ซม.น้ำหหนัก 1153 กรัม
  • อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ ทารกยาว 39.9 ซม. น้ำหหนัก 1319 กรัม
  • อายุครรภ์ 31 สัปดาห์ ทารกยาว 41.1 ซม. น้ำหหนัก 1502 กรัม
  • อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ทารกยาว 42.4 ซม. น้ำหหนัก 1702 กรัม
  • อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ ทารกยาว 43.7 ซม. น้ำหหนัก 1918 กรัม
  • อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ ทารกยาว 45.0 ซม. น้ำหหนัก 2383 กรัม
  • อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ทารกยาว 47.4 ซม. น้ำหหนัก 2622 กรัม
  • อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ทารกยาว 48.6 ซม. น้ำหหนัก 2859 กรัม
  • อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ ทารกยาว 49.8 ซม. น้ำหหนัก 3083 กรัม
  • อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ ทารกยาว 50.7 ซม. น้ำหหนัก3288 กรัม
  • อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ ทารกยาว 51.2 ซม.น้ำหหนัก 3462 กรัม
  • อายุครรภ์ 41 สัปดาห์ ทารกยาว 51.7 ซม. น้ำหหนัก 3597 กรัม
  • อายุครรภ์ 42 สัปดาห์ ทารกยาว 51.5 ซม. น้ำหหนัก 3685 กรัม

การดูแลทารกในครรภ์ไตรมาสที่  3

  • อาการของการมีการแตกหรือรั่วซึมของถุงน้ำคร่ำ บางรายอาจมีน้ำที่มีลักษณะที่ไม่ใช่ตกขาว แต่เป็นน้ำใสที่มีลักษณะคล้ายน้ำปัสสาวะ แต่ต่างกันตรงที่ไม่สามารถกลั้นได้ อาจมีปริมาณมากหรือน้อยแล้วแต่กรณี ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจว่ามีการแตกหรือรั่วซึมของถุงน้ำคร่ำเกิดขึ้นหรือไม่

  • ครรภ์เป็นพิษ การที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากหรือบวมขึ้นมากโดยเฉพาะบริเวณหนังตาอาจเป็นอาการเริ่มต้นของครรภ์เป็นพิษ ควรพบแพทย์เพื่อวัดความดันโลหิต/ความดันเลือด นอกจากนี้บางรายอาจจะมีอาการปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว หรือจุกเสียดลิ้นปี่ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งเมื่อมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล

  • เลือดออกจากช่องคลอด หากมีเลือดออกจากช่องคลอดอาจเป็นอาการแสดงของการที่มีรกเกาะต่ำ หรือมีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด หรือภาวะอื่นๆที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงควรต้องรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล

  • ทารกไม่ดิ้น การดิ้นของทารกในครรภ์นั้นบ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพของทารกว่าแข็งแรงดีหรือไม่ หากสังเกตว่าทารกดิ้นลดลง ควรนับการดิ้นของทารกโดยแนะนำนับในช่วงเวลาเดิมทุกๆวัน เวลาที่เหมาะสมคือหลังอาหารเย็น ควรนับในขณะที่นอนอยู่ในท่านอนตะแคงซ้าย ควรมีกระดาษปากกาหรือดินสอเพื่อจดเวลาเริ่มต้นและบันทึกการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ การนับนั้นนับทั้งการดิ้นที่รู้สึกได้ การพลิกตัว ความรู้สึกว่าโดนเตะหรือต่อย ควรนับให้ได้ครบ 10 ครั้งและบันทึกเวลาสิ้นสุดการนับ โดยปกติทารกควรดิ้นอย่างน้อย 10 ครั้งภายใน 2 ชั่วโมง
  • อาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หากรู้สึกว่าท้องแข็งตัวหรือหดรัดเกร็งเป็นระยะๆ ลองนอนพักดูก่อน หากอาการยังคงเป็นมากขึ้นถี่ขึ้นหรือแรงขึ้น อาจเป็นอาการแสดงของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ควรต้องรีบพบแพทย์

ในระหว่างรอเจ็บครรภ์คลอด สิ่งที่ห้ามพลาดคือการเตรียมชื่อจริงของลูกให้พร้อม รวมทั้งหลักฐานการแจ้งเกิด สำหรับครอบครัวที่มีสิทธิ์ประกันสังคม ควรเตรียมหลักฐานในการขอเบิกค่าคลอดบุตร และ เงินสงเคราะห์บุตรให้เรียบร้อย เพื่อความรวดเร็วในการรับเงินค่ะ 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

     1. สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม กรณี แท้งบุตร คลอดบุตร 

     2. พัฒนาการ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

     3. พัฒนาการ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team